วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการห้องสมุด(สรุปเนื้อหา วันที่ 19 มิถุนายน 2554)

บริการห้องสมุด

ธุรกิจการบริการ
ดังที่ได้กล่าวไปในบทความที่แล้ว ธุรกิจการบริการสามารถ แยกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.การบริการเชิงธุรกิจ ซึ่งมุ่งเน้นการหาผลกำไรจากการลงทุน
2.การบริการสาธารณะ มุ่งเน้นการรักษาผลประโยชน์ของผู้รับบริการ

งานห้องสมุด

1.งานบริหาร(Administration function) ควบคุมดูแลการทำงานของห้องสมุด ให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่สังกัด
2.งานเทคนิค(Technical function) จัดหา พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อใช้และบริการผู้ใช้ ซ่อมบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
3.งานบริการ(Service function) เป็นส่วนที่พบปะโดยตรงกับผู้รับบริการ มีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือรวมทั้งจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆ เช่น นิทรรศการ เสวนา โต้วาที

ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด
1. เป็นองค์ประกอบที่เกื้องหนุนการพัฒนาห้องสมุด เนื่องจากสังคมมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการจึงต้องปรับเปลี่ยนตามผู้รับบริการเช่นกัน ให้บริการที่ดีแก่ผู้ใช้ เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี และเพิ่มคุณค่าใน
สายตาสังคมให้กับห้องสมุด
2. ส่งเสริมสนับสนุนในด้านการศึกษา ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมความรู้ จึงเป็นแหล่งส่งเสริมให้คนมีการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ
3.ในด้านเศรษฐกิจ ประหยัดงบประมาณในการจัดหาสารสนเทศที่ต้องการ และสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างเท่าเทียมกัน
4.ในทางวัฒนธรรม จัดเก็บ บำรุงรักษาความเป็นมาวัฒนธรรมของชาติบ้านเมือง จัดเก็บเอกสารสำคัญ เกี่ยวกับท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
5.การเมืองการปกครอง ส่งเสริมการเมืองการปกครอง ส่งเสริมงานบริการเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร

วัตถุประสงค์ของบริการห้องสมุด
เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และตรงตามต้องการให้มากที่สุด กลั่นกรองให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการใช้งานห้องสมุดให้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ พัฒนาทักษะทางด้านการค้นคว้า วิจัยของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีใ้ห้แก่ห้องสมุด

ปรัชญาการบริการห้องสมุด

Ranganathan 5 Laws

1.หนังสือมีไว้ให้ใช้ (Books are For Use)
2.ผู้อ่านแต่ละคนได้หนังสือที่ตนจะอ่าน (Every Reader His or Her Book)
3.หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน (Every Books its Reader)
4.ประหยัดเวลาของผู้อ่าน (Save the Time of the Reader)
5.ห้องสมุดเป็นสถาบันทีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Library is Growing Organism)

Gorman Librarianship

1.ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการมนุษยชาติ (Libraries serve humanity)
2.ยอมรับการสื่อสารความรู้ในทุกรูปแบบ (Respect all forms by which knowledge is communicated)
3.ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างบริการ
(Use technology intelligently to enhance service)
4.เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้
(Protect free access to knowledge)
5.เคารพรับสิ่งที่ผ่านมาและสร้างอนาคต (Honor the past and create the future)

ประเภทงานบริการห้องสมุด

1.บริการพื้นฐาน
บริการยืมคืน เป็นบริการเพื่อนำเอาสารสนเทศออกนอกห้องสมุด อำนวยความสะดวก แก่ผู้ใช้บริการให้ได้สารสนเทศตามต้องการ
บริการผู้อ่าน จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับใช้บริการห้องสมุด เช่น จัดโต๊ะ เก้าอี้
แสงสว่างที่เหมาะสม สำหรับอ่านหนังสือ
2.บริการอ้างอิงและสารสนเทศ
บริการสารสนเทศ บริการตอบคำถามหรือค้นหาสารสนเทศที่ผู้รับบริการต้องการ เช่น บริการยืมระหว่างห้องสมุด
บริการสอนการใช้ บริการสอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง
บริการแนะนำ มีลักษณะคล้ายบริการสอนการใช้ แต่จะเน้นให้ความช่วยเหลือในขณะค้น เลือกทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสม
และให้คำแนะนำในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้

3.บริการเฉพาะกลุ่ม
เน้นให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้ที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป เช่น ผู้ป่วยด้อยโอกาส พิการ เด็ก

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การบริการ(สรุปเนื้อหา วันที่ 12 มิถุนายน 2554)

การบริการ

ความหมายของการบริการ

จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546)

ปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี

หรือใช้เป็นนามหมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ


สรุปจากบทเรียน เมื่อ 12 มิถุนายน 2554

การให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือปฏิบัติรับใช้ เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ

การให้บริการนั้นไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบททางสังคม

ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริกาำรอย่างมีมาตรฐาน นั่นคือ มีความเท่าเทียมกัน และสามารถเชื่อถืิอได้

ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความประทับใจต่อองค์กร และตัวผู้ให้บริการเอง

ประเภทของธุรกิจการบริการ
ี่
  • การบริการเชิงธุรกิจ(Business Service) เป็นการให้บริการโดยมุ่งเน้นผลกำไรจากการลงทุนซึ่งองค์กรเหล่านี้มักเป็นหน่วยงานเอกชน
  • การบริการเชิงสาธารณะ(Public Service) ให้บริการในลักษณะมุ่งรักษาผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มักเกิดขึ้นในหน่วยงานราชการซึ่งมุ่งเน้นรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักนั่นเอง

ลักษณะของงานบริการ

ผู้รับบริการพึงพอใจหรือไม่พอใจ เกิดขึ้นตลอดเวลาของการให้บริการ ซึ่งส่งผลเชื่อมโยงต่อบุคลากรและองค์กร ส่วนใหญ่จะส่งผลในเชิงลบรุนแรงมากกว่า
เมื่อเกิดความไม่พอใจ
จะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับองค์กรเป็นเวลานาน
การชดเชยความผิดพลาดเป็นเพียงแค่บรรเทาความไม่พอใจเท่านั้น
หากเิกิดความผิดพลาดขึ้นอีกก็จะปรากฎชัดเจน
ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานบริการที่ดี และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร