การบริการ
จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546)
ปฏิบัติรับใช้หรือให้ความสะดวกต่างๆ เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี
หรือใช้เป็นนามหมายถึง ให้บริการ ใช้บริการ
สรุปจากบทเรียน เมื่อ 12 มิถุนายน 2554
การให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือปฏิบัติรับใช้ เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ
การให้บริการนั้นไม่สามารถที่จะคาดเดาได้ จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบททางสังคม
ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริกาำรอย่างมีมาตรฐาน นั่นคือ มีความเท่าเทียมกัน และสามารถเชื่อถืิอได้
ทั้งนี้เพื่อให้เกิด ความประทับใจต่อองค์กร และตัวผู้ให้บริการเอง
ประเภทของธุรกิจการบริการ
ี่
- การบริการเชิงธุรกิจ(Business Service) เป็นการให้บริการโดยมุ่งเน้นผลกำไรจากการลงทุนซึ่งองค์กรเหล่านี้มักเป็นหน่วยงานเอกชน
- การบริการเชิงสาธารณะ(Public Service) ให้บริการในลักษณะมุ่งรักษาผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มักเกิดขึ้นในหน่วยงานราชการซึ่งมุ่งเน้นรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักนั่นเอง
ลักษณะของงานบริการ
ผู้รับบริการพึงพอใจหรือไม่พอใจ เกิดขึ้นตลอดเวลาของการให้บริการ ซึ่งส่งผลเชื่อมโยงต่อบุคลากรและองค์กร ส่วนใหญ่จะส่งผลในเชิงลบรุนแรงมากกว่า
เมื่อเกิดความไม่พอใจ
จะสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับองค์กรเป็นเวลานาน
การชดเชยความผิดพลาดเป็นเพียงแค่บรรเทาความไม่พอใจเท่านั้น
หากเิกิดความผิดพลาดขึ้นอีกก็จะปรากฎชัดเจน
ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานบริการที่ดี และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น